วันพุธที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

สอนด้วยกระดานหรือแผ่นใส...

วันนี้จะมาว่ากันเรื่อง... กระดานหรือแผ่นใสดี...

น้องๆ หลายคน เคยชินกับการเขียนกระดานสอนมากกว่า (พี่ด้วย) เพราะว่า การใช้กระดานนั้นสามารถควมคุมการสอนได้ง่ายกว่าการใช้แผ่นใส เยอะ...

พอพูดถึงการใช้แผ่นใส เราก็มักจะพาลคิดถึงคำว่า "ปิ้ง" แผ่นใส ก่อนอื่นเลย ประมาณว่า เอาแผ่นใสขึ้นมาพลิกๆ อธิบายให้นักเรียนดู ... ซึ่งตามสถิติแล้ว Probability ที่ นร.จะหลับคาแผ่นใส มากกว่าการสอนด้วยกระดานหลายช่วงตัว...

แต่ในบางกรณี เราก็หลีกเลี่ยงที่จะใช้แผ่นใสไม่ได้เช่นกัน ตัวอย่างง่ายๆ ก็โครงการใหญ่นี่แหละ สอนทีนึง 300 คน จะให้เขียนกระดานก็คงจะกระไรอยู่....

อย่ากระนั้นเลย... เรามาฝึกให้ชำนาญทั้งสองอย่างดีกว่า... จะได้ไม่เป็นปัญหา...

การสอนด้วยกระดาน

เริ่มจากกระดานก่อน... กระดาน มีข้อดีอันยิ่งใหญ่คือ น้องๆ สามารถตามเนื้อหาการเขียนของเราได้ไปพร้อมๆ กับที่เค้าไม่ต้องละความสนใจไปจากคนสอน... ด้วยเหตุนี้ ใช้กระดานเลยสามารถออก Acting ได้ง่าย แต่ข้อเสียใหญ่หลวงก็มีคือ สอนได้ช้า เพราะต้องเขียนใหม่หมดล้วนๆ ไม่เหมาะกับวิชาที่ต้องเขียนเนื้อหาเยอะๆ อย่างเช่น เคมี ชีวะ

หลักในการใช้กระดานใหญ่ๆ ก็มีดังต่อไปนี้...
  • จำใส่ใจไว้ว่า ให้ใ้ช้กระดานเสมือนหนึ่ง Lecture ของน้องๆ ... คือ น้องๆ สามารถจดตามได้เลยแบบ เป๊ะๆ จะดีมาก บางคนที่สอนแรกๆ (พี่ด้วย) มักจะใช้กระดานเป็นกระดาษทด ลบโน่น ลบนี่ โยงไปมามั่วไปหมด
  • เขียนจากบนลงล่าง ซ้ายไปขวา อย่าย้อนกลับ อย่ากระโดด อย่าลบไปลบมา(โดยไม่จำเป็น) ... เราสอนน้องๆ 300 คน อาจจะตามเราทันซักครึ่งนึง อีกครึ่งกะลัง งง ถ้าเราลบทิ้งโดดไปโดดมา เหมือนกับว่า ไม่ทิ้งแผนที่ไว้ให้อีกครึ่งนึงให้มีโอกาสตามเรามาทันเลย... เค้าจะหลุดไป และไม่เข้าใจในที่สุด
  • แบ่งกระดานเสมอๆ กันเนื้อหาปนกัน
  • เวลาเขียน "ห้าม" บังที่เขียนเด็ดขาด หันหลังเข้าหากระดาน พูดกับกระดานเมื่อไหร่ ความสนใจน้องๆ หายไปเมื่อนั้น
  • เขียนให้อ่านง่ายๆ ตัวใหญ่พอที่แถวหลังสุดจะเห็นได้ชัด ลายมือไม่สวยช่างมัน เราไม่ได้แข่งคัดลายมือ
  • ใช้สีสลับกันตามความหมายที่ต้องการจะสื่อ เช่น ปกติสีดำ วาดรูปสีน้ำเงิน โยง.เน้น สีแดง note สีเขียว เป็นต้น อย่าใช้สีเดียวกันทั้งกระดานนะ
นี่ว่ากันตามสมัยใหม่ คือใช้ Whiteboard ถ้าเป็นเมื่อก่อนใช้ชอล์ก ต้องมีวิธีการเขียนและเทคนิคการลบกระดานยังไงไม่ให้ชอล์กปลิวเข้าหน้าน้องๆ ด้วย

ว่ากันด้วยแผ่นใ่ส

การใช้แผ่นใส ยากกว่าการใช้กระดานพอสมควร สำหรับพี่นะ เพราะว่ามันดึงความสนใจน้องๆ ได้ยากกว่า แล้วก็การที่เราต้องยืนอยู่ที่เดิมตลอดเนี่ย มันดูน่าเบื่อเหมือนกัน ... แต่ก็ได้มาซึ่ีงความสะดวกง่ายดายในการ follow เนื้อหา และไม่เป็นอุปสรรคต่อขนาดตัวอักษร อย่าง ศร. 3 เนี่ย อย่าใช้กระดานเลยครับน้องๆ เขียน 2 บรรทัดก็เต็มแล้ว...

หลักการใช้แผ่นใสสอนก็มีดังต่อไปนี้
  • ก่อนเริ่มสอน หันหลังมองจอด้วย... ว่า ภาพโอเคหรือยัง มีอะไรตกขอบมั้ย
  • "อย่า" ปิ้งแผ่นใสโดยเด็ดขาด คือ เวลาเขียนแผ่นใสแล้ว จะเอาแผ่นใหม่เข้ามา อย่าดึงแผ่นเก่าออกทันที ให้ค่อยๆ เลื่อนแผ่นเก่าขึ้น เอาแผ่นใหม่ต่อท้าย แล้วจะดึงออก ให้ถามน้องๆ ทุกครั้งว่า เอาออกได้รึยัง
  • สอนกระดาน... อย่ามองกระดานเวลาพูด... ใช้แผ่นใส "อย่า" มองแผ่นใสมากนัก มองหน้าน้องๆ เป็นหลักเวลาพูด (สัญชาตญาณคนเราจะมองที่มือเวลาเขียนหนังสือ)
  • ระวังมุมการยืน การเขียน เงาของคนสอนอาจจะกำลังบังภาพบนจอก็ได้
  • ระวังอย่าให้แผ่นใสเลื่อน หรือเอียง
  • ใช้ปากกาหลากสีสัน เพื่อเน้นความสนใจ (บางคนหัวศิลป์ วาดรูปเตรียมไว้ก็โอเค)
  • เขียนหน้าไว้ที่แผ่นใสทุกครั้งให้เคยชิน เผื่อเวลากลับมาดูใหม่จะได้เรียงถูก
  • ล้างแผ่นใสด้วย เน้อ... อ้อ อย่าเปิดปากกาทิ้งไว้ล่ะ ปากกาที่โดนเปิดทิ้งไว้ข้าง overhead เนี่ย แห้งเร็วมาก
นอกจากนี้ เทคนิคการใช้แผ่นใสสอน มีทั้งหมด 3 แบบใหญ่ๆ ด้วยกัน ตามนี้

แบบแรก... ใช้แผ่นใสเหมือนกระดานเด๊ะ คือไม่เตรียมอะไรมาเลย เอาแผ่นใสเปล่าๆ มาโซโล่กันตอนสอน... อืม... ก็สะดวกดี

แบบที่สอง... เตรียมเนื้อหามาเรียบร้อย แล้วเว้นที่ไว้เป็นช่วงๆ ถึงเวลาสอนจริง ให้เอาแผ่นใสเปล่าอีกแผ่นมาซ้อน แล้วเขียนที่แผ่นบน พอไปห้องใหม่ ก็เอาแผ่นบนออก ... แบบนี้จะดูดีกว่า Follow เนื้อหาได้ง่าย ไม่หลุด script แต่จะลำบากเวลาซ้อนไปซ้อนมานิดนึง

แบบที่สาม... เตรียมเนื้อหามาเหมือนกัน แต่เขียนด้วย "Permanent" หรือไม่ก็ Xerox ใ่ส่ไปเลย (แต่ Xerox ใส่เนี่ย ลบไม่ได้นะ) คราวนี้เวลาสอนก็ใช้ปากกาธรรมดา พอสอนเสร็จก็ล้างน้ำ แล้วเอามาใช้ใหม่ พอสอนครบทุกคาบ ก็เอา Alcohol เช็ดออก

แล้วแต่ชอบ นะครับ ส่วนพี่ ชอบวิธีที่สองที่สุด คือ ขี้เกียจล้างระหว่างคาบ ว่างั้น...

ไม่มีความคิดเห็น: